Tuesday, December 8, 2009

สุขภาพดีวิถีไทย สร้างด้วยหัวใจคนขอนแก่น เบาหวาน

สุขภาพดีวิถีไทย สร้างด้วยหัวใจคนขอนแก่น

ผลลัพธ์อาจจะยังไม่ดีแต่รูปแบบวิธีการอาจจะพอแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาลอื่นได้บ้าง

วันที่ 24 -25 พ.ย. ทีผ่านมามีโอกาสไปร่วมงาน"สุขภาพดีวิถีไทย สร้างด้วยหัวใจคนขอนแก่น" ที่โรงแรมโฆษะ โดยมีทีม สสจ.ขอนแก่นนำโดยพี่น้อย และพี่ปิ๊ก (งานควบคุมโรค ) เป็นแม่งาน มึผู้เข้าร่วมฟังเยอะมาก เพราะมากันทุกรพ. และทุกสถานีอนามัยในจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบงานเบาหวาน ส่วนผู้นำเสนอผลงาน มีประมาณ 20 กว่าผลงาน ทุกเรื่องน่าสนใจมาก จะแบ่งรูปแบบการประกวด เป็น 3 สาขาคือ 1.การบริหารจัดการ 2.การรักษา 3. นวตกรรม

เริ่มงานตอนเช้าหน้างานจะประกอบไปด้วยบูธ จากหน่วยงานต่างๆ ทีโดดเด่นอยู่หน้างานจะเป็น อาหารแลกเปลี่ยน ของโรงพยาบาลบ้านไผ่ การตรวจจอประสาทตาของรพ.กระนวน บอร์ดนิทรรศการเรื่องยาเบาหวาน ความดัน รองเท้าของผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เท้า เครื่องเจาะนำตาล จากบริษัทต่างๆ และที่ทุกคนสนใจก็คือรางวัลที่โชว์อยู่หน้างานทั้งผ้าห่ม หมอน ตุ๊กตา ของใช้กระจุ๊กกระจิ๊กต่างๆ ที่สร้างแรงดึงดูดให้ ส่วนใหญ่อยู่ร่วมงานกันจนเลิก (เป็นกลวิธีที่ดีมาก) อีกมุมนึงก็คือ เกมส์ปาเป้าตอบปัญหาชิงรางวัลของพีแดงจากรพ.มัญจา

หลังจากพิธีเปิดงานโดย ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นพ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ แล้วพวกเรามีโอกาสได้ฟังการบรรยายธรรมโดยพระคุณเจ้าพระอธิการเอนก เตชวโร เจ้าอาวาสวัดโมกขวนาราม มาแสดงธรรมบรรยายให้แนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบวิถีพุทธซึ่งเป็นแนวทางการ เจริญสติในอิรินาบทท่านั่ง ของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ งานนี้ไม่ค่อยมีคนหลับ (เพราะเช้าอยู่ )แถมยังทานกาแฟไปด้วยทำให้ทุกคนดูไม่ง่วงซึมซักเท่าไหร่ ผู้จัดเข้าใจจัดนะคะ งานนี้โรงพยาบาลสีชมพูของเราส่งผลงานเข้าประกวด 3 ผลงาน เนื่องจากเราได้รับแรงกระตุ้นจากหัวหน้ากลุ่มการของเรานั่นเองทำให้เรา (น้องปุ้ย เภสัชคนเก่งของเรา น้องฟ้า ซึ่งเป็นทีมผู้ป่วยเบาหวานอยู่แล้ว และตัวดิฉันเอง ) เขียนส่งประกวดในสิ่งที่พวกเราได้ทำมาเป็นเวล 1 ปีที่ผ่านมา ผลงานที่เป็นผลลัพธ์อาจจะยังไม่ดี แต่รูปแบบวิธีการที่ทำอาจจะพอนำมาแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาลอื่นๆ ได้บ้าง รอติดตามนะคะ

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: พฤ. 26 พ.ย. 2552 @ 09:19 แก้ไข: พฤ. 26 พ.ย. 2552 @ 09:19

Monday, November 30, 2009

ปัญหาด้านยา การปรับยาขนาดอินซูลิน

ปัญหาด้านยา การปรับยาขนาดอินซูลิน

เรียนรู้ให้สนุก..ครับ

เทคนิคการปรับขนาดยาอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุขและเภสัชกรครับ

(อาจมีศัพท์ทางเทคนิคบ้างครับ)

ปกติ การปรับยา มัก จะปรับตาม FBS แต่ก็จะคลาดเคลื่อนได้ง่าย

กล่าวคือ FBS กับ A1C มักไปคนละทาง

ดังนั้น หากคนไข้ FBS สูง ก็ ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาอินซูลินประมาณ 5-10%

ส่วน คนไข้ที่ FBS ต่ำมาก ก็อาจลดขนาดยา ประมาณ 5-15% เช่นกัน

ความผิดพลาดที่พบบ่อย ในการปรับขนาดยาของแพทย์ก็คือ

พอ hypoglycemia ก็ไปลดขนาดยา จนน่าเกลียด คือ ลดขนาดยาไปถึง 70-90%

เลย ไม่นานคนไข้ก็ต้อง readmit ด้วย Severe hyperglycemia

บ่อยและซ้ำซาก

บทบาทเภสัชกร คือ ไปบอกแพทย์ให้ระวัง

ภาวะ hyperglycemia (หากทำได้)หรือ

ไปติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วย ว่าเกิดปัญหา hyperglycemiaหรือไม่

อย่างกรณีศึกษา

ป้ามี คนไข้เบาหวาน ขาประจำ

hyperglycemia FBS เฉลี่ย 300 mg/dL

อยู่มา วันหนึ่ง คนไข้ มา รพ.เวียนหัว

และ FBS=87 A1C =8.7%

แพทย์ดันลดขนาดยา จาก mixtard 50-0-18 เหลือ mixtard 15-0-0

7 วันต่อมา ผมไปเยี่ยมคนไข้ที่บ้าน(ตามแผน เพราะคิดว่าป้ามี น่า

จะ hyperglycemia แน่นอน)

เพื่้อติดตามดูแล เฝ้าระวัง drug related problem ...dose to low

ผลที่ตามมาก็ คือ คนไข้นอนซึมหมดแรง หงุดหงิด ตลอดวัน เจาะ

เลือดได้ 525 mg/dL

แบบนี้ ถือว่า เป็น Drug related problem=Dose too low ครับ

และเป็น ความคลาดเคลื่อนทางยาหรือไม่?

เชิญแสดงความเห็นได้ครับ

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 22 พ.ย. 2552 @ 06:57 แก้ไข: อา. 22 พ.ย. 2552 @ 19:08

ความเห็น

1.
P
นาย สามารถ เศรษฐวิทยา
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 07:03
#1689392 [ ลบ ]

สวัสดีตอนเช้าครับพี่ นครปฐมอากาศเย็นดี วันนี้ออกแถวไหนครับ แล้วจะโทรไปหาครับ

2.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 07:06
#1689393 [ ลบ ]

ไปบ้านหนองแต้และบ้านบ่อครับ

ชาวบ้านน่ารัก อสม.ดี ครับ

ดูแลสุขภาพ น่ะครับ น้องสามารถ

3.
P
nussa-udon
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 07:37
#1689409 [ ลบ ]

มองสองส่วนค่ะทั้งยาอาจไม่พอและผู้ป่วยไม่ควบคุมด้วยไหมปัจจัยอื่นมีบ้างหรือเปล่าคะ..อากาศเย็นมากรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

4.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 08:36
#1689484 [ ลบ ]

คนไข้เบื่ออาหาร กินข้าวไม่ได้ นน. ลด 10 กก. ใน 54วัน ครับ

5.
P
สีตะวัน
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 09:31
#1689572 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ คุณเภสัช นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม

มารับความรู้การปรับยา...

case ป้ามี...

โชคดีที่มีเภสัชติดตามเยี่ยมนะคะ ไม่งั้นคงน่าเสียใจ

หากคนไข้ FBS สูง ก็ ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาอินซูลินประมาณ 5-10%

ส่วน คนไข้ที่ FBS ต่ำมาก ก็อาจลดขนาดยา ประมาณ 5-15% เช่นกัน

ขอบคุณค่ะ

6.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 12:34
#1689951 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณ


P

nussa-udon


ที่มาเยี่ยมชมมากๆ ครับ

7.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 12:39
#1689963 [ ลบ ]

ขอบคุณ คุณ


P

สีตะวัน ที่มาใ้ห้กำลังใจครับ

8.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อา. 22 พ.ย. 2552 @ 12:42
#1689970 [ ลบ ]

วันนี้ หาก ทำงานเสร็จแล้ว จะไปหาป้ามี อีกรอบ


เจาะเลือดดูว่า DTX ต่ำกว่า 300 mg/dL หรือไม่ครับ

9.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 22:24
#1707319 [ ลบ ]

ไปหาป้ามีแล้ว 339 มก./ดล.

Monday, November 16, 2009

เภสัชกรแกะดำจ่ายยา

การจ่ายยา แบบเภสัชกรแกะดำแห่งอุบลรัตน์ ตอนที่ 1
ข้อมูล ผู้ป่วย เป็น สิ่งสำคัญ ที่ ต้องรู้ให้ได้
จ่ายยาแบบเภสัชกรแกะดำแห่งอุบลรัตน์
ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม1
สำหรับเภสัชกรห้าวๆ อย่างผม ไม่ยอม ทำตัวตามกรอบ ทำตามระบบเก่าๆ ที่เรียกว่า สาธารณสุข แบบโชว์ห่วยซึ่งก็คือ ระบบจ่ายยาแล้วไล่กลับบ้าน โดยที่เภสัชกรจ่ายยาแล้ว โบกมือลาคนไข้ แล้วรอว่านัดครั้งหน้า ค่อยเจอกัน(ถ้าคนไข้ไม่ตายไปเสียก่อน) ผมจะไม่ทำอะไรแบบนั้นเด็ดขาด คนไข้ทุกรายที่มารับยาที่ห้องยาอุบลรัตน์ ต้องนำเวชระเบียนมาด้วย ผมจะได้ดูประวัติคนไข้ให้ดีก่อนจ่ายยา ไม่ใช่จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ แนะนำการใช้ยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งบางครั้งแพทย์ก็ผิดพลาดได้เช่นกัน แต่ถ้าเภสัชกร ไม่รู้ประวัติคนไข้เลย จะจ่ายยาอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร มีเหตุการณ์ ที่เป็นจุดเปลี่ยน อยู่สองครั้งก็คือ ณ วัน หนึ่ง ที่ OPD คนไข้มากมาย เหนื่อย เครียดเพราะ ในเวลาแค่ 210 นาที ผมต้องจ่ายยาให้คนไข้ถึง 135 คน

เหตุการณ์แรก แพทย์สั่งยา Kayexalate 45 ml OD (ยานี้เป็นยาใช้ขับโปรแตสเซี่ยม ปกติมีหน่วยเป็นกรัม) ผมเลยกลับไปถามแพทย์ว่า เขียนผิดหรือเปล่า ไม่ใช่ สั่ง Kayexalate 45 กรัม เหรอครับ แพทย์ก็บอกว่าเอ่อ ผมก็จะสั่ง potassium elixir 45 ml OD * 7 days แต่เบลอๆ เลยเขียนผิดเป็น Kayexalate แทน ผมเหลือบไปดู เวชระเบียนพบว่าผลการเจาะเลือดค่า K คือ 1.91 อ้าว โอ้พระเจ้ายอร์ช สั่งยาแบบนี้ ไอ้หวังตายแน่ครับ เพราะคนไข้มีระดับ potassium ต่ำมากอย่างน่าเกลียดอยู่แล้ว หากไปสั่งยาลด potassium อีก คนไข้ได้ไปทำใบมรณะบัตร แน่นอนครับ คนไข้ ระดับ potassium ต่ำมาก แพทย์เบลอสั่งยาขับ potassium ไปอีก ห้องยาได้แค่ใบสั่งยา ไม่รู้ผลตรวจค่า potassium ในเลือด จ่ายยยาไป คนไข้ตายจะทำอย่างไร

เหตุการณ์ที่สอง เกิดจากระบบตรวจเบาหวานแนวใหม่ คนไข้ ต้องมารวมกลุ่มกัน ทุก 6เดือน แพทย์จะตรวจคนไข้ ในห้องเดียวกับเภสัชกร คนไข้ก็จะถือใบสั่งยาพร้อมเวชระเบียนมา รับยาที่เภสัชกรได้เลย เภสัชกรกับแพทย์ ก็จะได้เห็นการทำงานของกันและกัน ว่าเป็นอย่างไร บังเอิญมีคนไข้เบาหวานรายหนึ่ง มารับยากับผม หน้าตาแกดูหมองกระดำกระด่าง ผมเลยตรวจที่หนังตาคนไข้ พบว่าคนไข้ซีดมากจนน่าสงสาร ซีดจนไม่มีเลือดฝาดเลย ผมชักเอะใจพลิกกลับไปดู คนไข้มีค่า Serum creatinine = 4.43 mg/dL แต่แพทย์เผลอสั่ง ยา gliben metformin enalapril ซึ่งยา เหล่านั้น ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไตวาย เมื่อพบดังนั้นผมเลยแจ้งแพทย์ แพทย์ก็เลยให้คนไข้นอนโรงพยาบาล เพื่อปรับการรักษาใหม่หมด เนื่องจากคนไข้เกิดภาวะไตวายรุนแรงแล้ว ผมคิดย้อนหลัง หากคนไข้รายนี้ ได้ยาเดิมกลับไป คนไข้จะเป็นอย่างไรหนอ (ไอ้หวังตายแน่)

จากเหตุการณ์ทั้งสอง ผมจึงได้ไปโวยวาย หัวหน้า OPD แบบรุนแรงใหญ่โตว่า คนไข้ทุกรายที่มาห้องยาให้นำเวชระเบียนมาด้วย ห้ามดึงออก ส่งมาแต่ใบสั่งยา เรียกว่าครั้งนั้นทะเลาะกันแรงมาก เถียงกันหลายชั่วโมง จนใครๆ ที่ คิดอะไรตื้นๆ เข้าใจว่าผมนอตหลุด ตบะแตก เลยคุมอารมณ์ไม่ได้ ไปทะเลาะกับคนอื่น ที่ผมแกล้งโวยวายรุนแรงไปนั้นเกิดจาก ผมเสนอ เรื่องนี้ ตามระบบ ตามขั้น ตอน มา 3 ปีกว่าแล้ว เข้าที่ประชุมนับสิบครั้ง เวชระเบียนก็ไม่มาห้องยาเสียที ลองวิธีหยาบๆ ดู โวยวายรุนแรงดู แถมขู่อีกว่า หากเวชระเบียนไม่มา ผมจะไม่ยอมจ่ายยาให้คนไข้(ประท้วงคล้ายพนักงานรถไฟเลยครับ) ได้ผลครับครับ อีก 1 เดือนถัดมา เวชระเบียน ก็ถูกส่งมาห้องยาแบบไม่เต็มใจ เรื่อยมาจนถึงบัดนี้ ซึ่งผมก็คัดกรองปัญหาทางคลินิก ได้หลายร้อยปัญหาในเวลาเพียงปีเศษๆ และได้ช่วยชีวิตคนไข้ไว้หลายคนจากการสั่งยาและการรักษาที่ผิดพลาด เอวังเรื่องราวก็จบลงไป ด้วยประการละฉะนี้ สาธุ



1เป็นเภสัชกร ที่ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น รักงาน ดูแลผู้ป่วย และงานปฐมภูมิ 086-6317372 frxbaby@gmail.com
หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
คำสำคัญ: km patient care บทความ เภสัชกร
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:18 แก้ไข: อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:18
ความเห็น
1.
P
JJ
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:25
#1679451 [ ลบ ]

มาให้กำลังใจ แกะดำ สร้างสรรค์ไทย ครับ


2.
P
JJ
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:26
#1679452 [ ลบ ]

มาให้กำลังใจ แกะดำ สรรค์สร้างไทย ครับ


3.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 07:31
#1679456 [ ลบ ]

ไม่ว่า ใครจะเก่งแค่ไหนก็ผิดพลาดได้ครับ

ไม่ใช่แต่แพทย์

ผมเองก็ทำงานผิดพลาดบ้าง ทุกวัน ที่ไปทำงาน

ครับผม 555
4.
P
นู๋ฏวง
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 08:07
#1679490 [ ลบ ]

*-* สวัสดีค่ะ พี่ศุภรักษ์

เป็นกำลังใจให้คนทำงานค่ะ บางครั้งสิ่งที่เรียกว่าระบบ และขั้นตอน(ที่สุภาพ)

อาจทำให้เราได้งานที่ไม่ต้องการ บางครั้งนู๋ฎวงก็ใช้วิธีแบบนี้เหมือนกัน

เพื่อให้ได้งานที่ต้องการมา แต่ก็ถูกมองว่า...เ-ถื่-อ-น (แต่ก็ไม่สน)

กำลังจะทำงาน asthma clinic (ขอ on top ของ สปสช.) ขอเรียนปรึกษาด้วยนะคะ
5.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ อ. 17 พ.ย. 2552 @ 11:29
#1679800 [ ลบ ]

ขอบคุณ

นู๋ฏวง

ที่ให้กำลังใจครับ

Wednesday, May 6, 2009

เหนือกว่า การจ่ายยา

บทบาทของเภสัชกร นอกจากการจ่ายยาแล้ว

ต้องมีการ บริบาลผู้ป่วย ต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย

แค่จ่ายยา อย่างเดียวไม่เพียงพอจะช่วยผู้ป่วยได้ครับ

หากอยากจะเปิดงานเภสัชกร ต้องเน้นบริบาลผู้ป่วย และผลงานต้องไ้ผลดีด้วย

อาทิเช่น

1 แก้ปัญหา non compliance จนคนไข้ ได้ clinical outcome ดีขึ้น
2 วางระบบ ป้องกัน ADE จน ADE ลดลง
3 สร้่างระบบ disease management or case management จนผลลัพธ์ การรักษาดีขึ้นครับ
4 แก้ปัญหา non adherence of clinical guideline ของแพทย์ ในโรคสำคัญ เช่น MI or HF
ดังนั้น เภสัชกร ต้องรู้เรื่องโรค เรื่องยา เรื่องการบริบาลผู้ป่วย

และ การจัการปัญหาด้านยาที่พบบ่อย และสำคัญครับ

ปล. เคล็ดลับ สนิทสนม และรักผู้ป่วย ความรักคือพลังครับ

Sunday, April 5, 2009

High risk patients VS High alert drug

มายาคติ ในงานเภสัชกรรม เมื่อยาสำคัญกว่าคนไข้

เคยนึก สงสัย บ้างไหม ว่า ทำไม เราต้อง รายงานการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง

เคยลังเล บ้างไหม ว่า สิ่งที่เราทำไป ผู้ป่้วยจะได้หรือไม่

คำถาม สำคัญกว่า คำตอบน่ะครับ

ในการทำงาน ให้ได้ผลดี
นอกจากทำตามคำสั่ง ทำตามผู้นิเทศงาน

ส่วนหนึ่งเราจะเป็นต้งมีความรู้ เข้าใจปัญหามากพอ

จนสามารถคิดเองไ้ด้ว่า จะทำอย่างไรดีครับ

Thursday, March 12, 2009

เริ่มต้นจากงานง่า่ย...

หาคนไข้ non compliance ให้เจอ
ไป ให้คำปรึษาให้เกิด compliance

ออกหาคนไข้ขาดยา ขาดการรักษา
ไปช่วยพวกเขา...

ให้ข้อมูล ADR ที่สำคัญแก้ผู้ป่วย
พร้อมแนวทางแก้ไขครับ

สำคัญกว่า ต้องทำก่อน
อะไรน่ะ ที่สำคัญ ในระบบยา...

Thursday, February 26, 2009

ไปที่ไหน เขาก็ว่า เภสัชกร หลบอยู่ในห้องยา

เภสัชกรได้แค่จ่ายยา
สั่งยา
จัดยา
จ่ายยา
ซื้อยา

หากเภสัชกร คนไหน ไปบริบาลผู้ป่วย
กลายเป็นเรื่องแปลกไป

แม้แต่ งานเภสัชกรรมคลินิก
ส่วนใหญ่ก็เป็นกิจกรรมด้านยา
ม่ใช่การบริบาลผู้ป่วย ตื่นเสียทีเถอะครับ พี่น้่อง

การทำงานของเภสัชกร
ต้องบริบาลผู้ป่วย ต้องมีผลงาน
ทำให้ผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น